หน้าแรก LCA SeRum
    สาระน่ารู้เกี่ยวกับ LCA
    เกี่ยวกับบริษัท LCA
    ประสบการณ์จากผู้ใช้จริง
    รูปผู้ใช้จริงก่อนและหลัง
    วิธีการสั่งซื้อและรับสินค้า
    ติดต่อสอบถามข้อมูล
สถิติผู้เข้าชม
 ขณะนี้มีผู้เข้าใช้ 13
 ผู้เข้าชมในวันนี้ 892
 ผู้เข้าชมทั้งหมด 2,843,312
 ปรับปรุงเว็บ 04/06/2567
กรุณาฝาก Email ของท่าน
  เพื่อรับข่าวสาร ที่น่าสนใจ
4 ธันวาคม 2567
อา จ. อ. พ. พฤ ศ. ส.
10  11  12  13  14 
15  16  17  18  19  20  21 
22  23  24  25  26  27  28 
29  30  31         
             
 
Search

Google Yahoo
 
 
แม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต
  
  สาระน่ารู้เกี่ยวกับเซลล์
การรักษาด้วยสเต็มเซลล์
[14 สิงหาคม 2551 17:50 น.]จำนวนผู้เข้าชม 15864 คน
การรักษาด้วย สเต็มเซลล์ (Stem Cell)
การรักษาด้วย สเต็มเซลล์(Stem Cell) กำลังได้รับความสนใจในฐานะที่เป็นความหวังใหม่ของวงการแพทย์ที่จะสามารถรักษาโรคร้ายแรงและโรคเรื้อรังหลายชนิด เช่น ธาลลัสซีเมีย ลิวคิเมีย อัลไซเมอร์ พาร์กินสัน อัมพาตไขสันหลัง กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เบาหวาน เป็นต้น ให้หายขาดได้

แม้โดยหลักการแล้ว สเต็มเซลล์ สามารถหาได้จากไขกระดูก กระแสเลือด และบางส่วนของร่างกายมนุษย์ แต่จุดที่มีคุณภาพดีกว่าก็คือ เลือดจากสายสะดือทารกแรกเกิด และจากตัวอ่อนมนุษย์ โดยเฉพาะจากตัวอ่อนมนุษย์นั้นสามารถหาได้อีก 2 แหล่ง คือ ตัวอ่อนมนุษย์ที่เหลือจากการใช้ปฏิสนธิในคลินิกผู้มีบุตรยาก และตัวอ่อนมนุษย์ที่ได้รับการโคลนนิ่ง

ในกรณีนี้ จึงเกิดคำถามเชิงจริยธรรมขึ้นมาว่า เป็นการสร้างชีวิตหนึ่งโดยทำลายชีวิตหนึ่งลงไปหรือไม่?

สเต็มเซลล์และความก้าวหน้า
หลักการทำงานของ สเต็มเซลล์ ก็คือ ในร่างกายมนุษย์จะมีเซลล์ทั้งสิ้น 100 ล้านล้านเซลล์ แบ่งเป็นเซลล์ชนิดต่างๆ 220 ชนิด โดยจะมีทั้งที่ตายไปและสร้างขึ้นใหม่ตามหลักอนิจจังอยู่เสมอๆ ซึ่งปกติร่างกายคนเราก็มี "สเต็มเซลล์" หรือ "เซลล์ต้นกำเนิด" อยู่แล้ว แต่เมื่อเกิดพยาธิขึ้นก็จะทำให้สเต็มเซลล์ไม่สามารถทำงานได้

ทั้งนี้ การวิจัยในปัจจุบันมีอยู่ 2 แบบหลักๆ ด้วยกันคือ สเต็มเซลล์จากตัวอ่อนมนุษย์ (Embryonic Stem Cell) และ สเต็มเซลล์เต็มวัย (Adult Stem Cell) ซึ่งคุณสมบัติของ สเต็มเซลล์ต้องประกอบด้วย

1. แบ่งตัวเพิ่มจำนวนได้

2. แบ่งตัวแล้วยังคงรักษาคุณสมบัติเดิมได้

3. เปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์ชนิดอื่นได้ถ้าจำเป็น


ด้านวิธีการรักษาด้วย สเต็มเซลล์จะได้แก่ การใช้วิธีเซลล์บำบัด การปลูกถ่ายเนื้อเยื่อ และการปลูกถ่ายอวัยวะ ที่ผ่านมาผู้ป่วยที่เป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้จำนวนครึ่งหนึ่งต้องเสียชีวิตไป ระหว่างการรอรับบริจาคอวัยวะ แพทย์ก็ลำบากใจที่ไม่สามารถรักษาผู้ป่วยได้ ส่วนญาติพี่น้องก็ร้อนใจ เพราะจะซื้ออวัยวะก็ซื้อไม่ได้ อีกทั้งในกรณีของผู้ที่ได้รับการบริจาคอวัยวะแล้ว ร่างกายก็อาจเกิดการต่อต้านอวัยวะใหม่ได้ หากผู้ให้และผู้รับไม่ได้มีความเกี่ยวข้องทางพันธุกรรมต่อกันเช่น เป็นพ่อแม่หรือพี่น้องต่อกัน

แต่หากมีการนำสเต็มเซลล์มาใช้งานจริงจะแก้ปัญหานี้ได้ เนื่องจากเป็นการใช้เซลล์ตัวเองไปเพาะเลี้ยงภายนอกให้เพิ่มจำนวนมากขึ้น แล้วนำกลับเข้ามาสู่ร่างกาย จึงไม่เกิดการต่อต้านแต่อย่างใด อวัยวะจากการทำสเต็มเซลล์ก็จะอยู่กับผู้ป่วยได้นานกว่า เป็นการรักษาโรคให้หายขาดได้ และการรักษาด้วย สเต็มเซลล์ยังเป็นการลดความทุกข์ทรมานและลดความเสี่ยงต่อชีวิตของผู้ป่วย

สำหรับความคืบหน้าล่าสุดนั้น กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และม.มหิดล จัดทำโครงการวิจัยและพัฒนาห้องปฏิบัติการเซลล์ต้นกำเนิดขึ้น เพื่อนำไปใช้ในการรักษาผู้ป่วยโรคร้ายแรงที่ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เช่น โรคหัวใจขาดเลือด และโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขของประเทศ โดยโครงการนี้เป็นโครงการต่อเนื่อง ใช้ระยะเวลา 3 ปี ดำเนินการในปี 2549-2551 ใช้งบประมาณกว่า 40 ล้านบาท

งานวิจัยระยะแรก จะมุ่งเน้นการเพาะเลี้ยงเซลล์ต้นกำเนิดผิวกระจกตา สำหรับรักษาผู้ป่วยกลุ่มที่มีการทำลายเซลล์ต้นกำเนิดผิวกระจกตา และเซลล์ต้นกำเนิดที่ใช้รักษาผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือด ซึ่งจะเป็นพื้นฐานสำคัญในการประยุกต์ไปสู่การเพาะเลี้ยงเซลล์ต้นกำเนิดชนิดอื่นๆ เพื่อเป็นประโยชน์ ในการรักษาโรคต่างๆได้มากกว่า 70 ชนิด รวมทั้งพัฒนาการจัดตั้งธนาคารเลือดสายสะดือทารกแรกเกิดในประเทศไทย ที่สามารถนำเลือดสายสะดือทารกมาใช้ได้ทันทีเมื่อมีความต้องการ

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จะทำหน้าที่เป็นตัวกลาง ในการเชื่อมต่อระหว่างนักวิจัยและผู้ป่วย ผ่านทางศูนย์ปฏิบัติการและโรงพยาบาล โดยการนำเทคโนโลยีเซลล์ต้นกำเนิดไปใช้ในการรักษาผู้ป่วย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ทั้งคุณภาพชีวิตและความคุ้มทุนทางเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข เพราะการรักษาผู้ป่วยให้หายขาดด้วยการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยที่ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดตลอดเวลา 30 ปี ได้ถึง 10 เท่า

ถึงแม้ว่าการวิจัยด้าน สเต็มเซลล์จะก้าวหน้าไปไกลมาก แต่ปัจจุบันยังไม่มีองค์ความรู้เพียงพอ ที่จะอธิบายกระบวนการพัฒนาไปเป็นเซลล์อื่นๆ ในร่างกายของเซลล์ต้นกำเนิด ซึ่งหากยังไม่มีการศึกษาที่ชัดเจนและสามารถอธิบายทางวิทยาศาสตร์ได้ การนำเอาไปใช้ในการรักษาถือว่าอันตรายมากต่อผู้ป่วย

ทั้งนี้ ปัจจุบันประเทศไทยได้มีการวิจัย สเต็มเซลล์ ในส่วนเซลล์เต็มวัย (Adult stem cell) อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะส่วนที่ได้จากไขกระดูกและสายสะดือเด็กหลังคลอด ซึ่งสามารถนำมารักษาโรคต่างๆ อาทิ มะเร็งเม็ดเลือด หลอดเลือดหัวใจตีบตัน เบาหวาน ธาลัสซีเมีย ปัจจุบันได้มีการรักษาไปแล้วประมาณ 1,000 ราย

แต่การนำ สเต็มเซลล์มารักษา ค่อนข้างมีข้อจำกัดในส่วนของหมู่เลือดเม็ดโลหิตขาว และเนื้อเยื่อจะต้องตรงกับผู้ป่วย ในส่วนที่ผู้ป่วยไม่สามารถนำเซลล์ต้นกำเนิดของตนเองมารักษาได้ ดังนั้น สภากาชาดไทยจึงได้จัดตั้งธนาคารเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต เพื่อขอรับบริจาคจากบุคคลทั่วไป หรือต้องสละชีวิตเพื่อชีวิต

ขณะที่การวิจัยเรื่อง สเต็มเซลล์ กำลังก้าวเดินรุดหน้าอย่างรวดเร็ว โดยมีการฉายให้เห็นแต่ภาพความดีงามและคุณประโยชน์มหาศาลต่อชีวิตมนุษย์ ในมุมกลับกัน การได้มาซึ่ง สเต็มเซลล์ ซึ่งเป็นมุมอีกด้านกลับถูกละเลยที่จะกล่าวถึง

คำถามที่ท้าทายคือ เราจะนิยามความหมายอย่างไรของการได้มาซึ่ง สเต็มเซลล์ในบางประเด็นที่มีปัญหาในเชิงศีลธรรม เช่น การได้ สเต็มเซลล์มาจากตัวอ่อนของมนุษย์หลังการปฏิสนธิจนถึง 14 วันนั้น สามารถเรียกได้ว่าเป็นชีวิตแล้วหรือยัง หากสิ่งนั้นเป็นชีวิต เท่ากับเป็นสละชีวิตเพื่อชีวิตหรือไม่

สิ่งที่เป็นข้อถกเถียงเชิงศีลธรรม คือ กรณีการใช้ สเต็มเซลล์จากตัวอ่อนของทารก ซึ่งยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่า เป็นการฆ่ามนุษย์หรือไม่ เนื่องจากเป็นการดึงตัวอ่อนมนุษย์ที่เกิดจากการปฏิสนธิของไข่กับอสุจิที่มีอายุ 5-7 วันออกมาไว้ในจานแก้วเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ จากนั้นจึงดูดเซลล์จากตัวอ่อนออกมาเพาะเลี้ยงเป็น สเต็มเซลล์ต่อไป โดยวิธีการนี้จะทำให้ตัวอ่อนมนุษย์ต้องตายไป

ทั้งนี้ หากการซื้อขายเซลล์ไข่ดังกล่าวไม่กระเทือนต่อภาคบังคับเช่น มีการซื้อขายแล้วจะมีผลกระทบกระเทือนต่อสังคมหรือไม่ หากไม่ก็คิดว่าไม่น่าจะเป็นอะไร โดยในการพิจารณานั้นหากพบว่ามีข้อดีมากกว่าข้อเสียก็น่าจะยอมรับได้ อย่างไรก็ตาม การที่จะพิจารณาว่าการซื้อเซลล์ไข่ดังกล่าวเป็นเรื่องที่ผิดจริยธรรมหรือไม่นั้น ต้องมีการพิจารณาเป็นกรณีๆ ไป

เพื่อหลีกเลี่ยงกรณีสละชีวิตเพื่อชีวิต จึงมีคำถามว่าที่แท้จริงแล้วชีวิตเกิดขึ้นเมื่อไร เกิดขึ้นทันทีหลังปฏิสนธิ หรือเกิดขึ้นหลังจากการปฏิสนธิแล้วกี่วัน ตัวอ่อนที่เกิดจากการโคลนนิ่งใช่ชีวิตหรือไม่ หากตัวอ่อนยังมิใช่ชีวิต เช่นนี้แล้ว การใช้คำศัพท์เรียกหาว่า ตัวอ่อน เป็นการถูกต้องหรือไม่อย่างไร

ในปัจจุบันโรงพยาบาลบางแห่ง สามารถให้บริการเก็บ สเต็มเซลล์ ให้กับผู้คลอดได้ ซึ่งก็คือเพื่อทารกเกิดใหม่ในอนาคตนั่นเอง โดยการเก็บเลือดจากสายสะดือประมาณ 120 ซีซีทางฝั่งมารดา วิธีนี้มีข้อจำกัดที่ต้องผ่าตัดคลอดเท่านั้น ส่วนธนาคารที่เก็บ สเต็มเซลล์ คงใช้ของต่างประเทศในช่วงแรก เพราะได้รับการรับรองแล้ว ทำให้ค่าใช้จ่ายจะตกอยู่ประมาณ 4-5 หมื่นบาท อย่างไรก็ตามหากธนาคาร สเต็มเซลล์ ภายในประเทศพัฒนาขึ้น ได้รับการรับรอง ก็คงเป็นทางเลือกใหม่ที่น่าสนใจ

ที่มา : นายแพทย์ตรอง มณีวัฒนา สูตินรีแพทย์ประจำโรงพยาบาลเอกอุดร
สาระน่ารู้เกี่ยวกับเซลล์
- การรักษาด้วยสเต็มเซลล์ [14 สิงหาคม 2551 17:50 น.]
- สเต็มเซลล์คืออะไร [14 สิงหาคม 2551 17:50 น.]
ดูทั้งหมด

copy right 2008 by okserum
contact email : okserum@hotmail.com
Line id=okserum
Engine by MAKEWEBEASY